ดวงจันทร์ของโลก

ดวงจันทร์ของโลก ดวงจันทร์ (The Moon) ​เป็นบริวารดวงเดียวของโลกและมีขนาดเล็กกว่าโลกมาก หลังจากการก่อตัวของระบบสุริยะ ดวงจันทร์เย็นตัวอย่างรวดเร็วจนโครงสร้างภายในกลายเป็นของแข็งทั้งหมดจึงไม่มีสนามแม่เหล็ก ดวงจันทร์มีมวลน้อยจึงมีแรงโน้มถ่วงน้อยจนไม่สามารถดึงดูดบรรยากาศไว้ได้ การที่ไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่เลย ทำให้อุกกาบาตพุ่งชนพื้นผิวโดยอิสระไร้แรงเสียดทาน พื้นผิวของดวงจันทร์จึงปกคลุมไปด้วยฝุ่นผงและกรวดอุกกาบาต เมื่อมองดูจากโลกเรามองเห็นพื้นที่สีคล้ำบนดวงจันทร์เป็นรูปกระต่าย คนสมัยก่อนเข้าใจว่า บริเวณนั้นเป็นทะเลบนดวงจันทร์ แต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีกันแล้วว่าบนดวงจันทร์ไม่มีน้ำ พื้นที่แอ่งสีคล้ำบนดวงจันทร์เกิดขึ้นจากการพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ในยุคแรกของระบบสุริยะ ทำให้พื้นผิวของดวงจันทร์ทะลุจนแมกมาซึ่งอยู่ข้างใต้ไหลขึ้นมาแข็งตัวเป็นหินบะซอลต์ ในยุคหลังๆ อุกกาบาตได้พุ่งชนและหลอมรวมกับดาวเคราะห์และดวงจันทร์ต่างๆ ของระบบสุริยะจนหมดแล้ว เหลือแต่อุกกาบาตขนาดจิ๋วซึ่งยังคงกระหน่ำชนพื้นผิวดวงจันทร์อยู่ตลอดเวลา ดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลก เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ของแรงไทดัลของโลกและดวงจันทร์ ทำให้ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลาเท่ากับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ด้านตรงข้ามที่หันออกจากโลก (Far side of the Moon) จึงเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่เพราะดวงจันทร์ทำหน้าที่ปกป้องโลกไปในตัว และแม้ว่าดวงจันทร์จะมีขนาดเล็กกว่าโลกมากแต่ดวงจันทร์ก็มีอิทธิพลกับโลกมาก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ข้างขึ้นข้างแรม น้ำขึ้นน้ำลง สุริยุปราคา จันทรุปราคา นักวิทยาศาสตร์พบว่า ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนที่ช้าลงและห่างจากโลกมากขึ้น ปี พ.ศ.2502 สหภาพโซเวียต (รัสเซีย) ได้ส่ง ลูนา 2 ยานอวกาศลำแรกลงไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ สิบปีต่อมาในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2512 สหรัฐอเมริกาได้ส่ง อะพอลโล 11 […]

รู้หรือไม่ว่าทำไม พื้นผิวดวงจันทร์ ที่เราเห็นนั้นมีผิวขรุขระ

พื้นผิวดวงจันทร์ เชื่อว่าเราต่างก็เคยมองบนท้องฟ้ายามค่ำคืนกันทั้งนั้น แล้วมองเห็นดวงจันทร์ที่สว่างไสวนั้นไหม หลายคนคงอาจจะเคลิบเคลิ้มไปกับความสวยงาม และคงคิดว่าดวงจันทร์นั้นคงกลมสวยงามเรียบเนียนอย่างที่เรามองเห็นเมื่อมองจากโลก แต่รู้หรือไม่ว่าดวงจันทร์ที่ส่องสว่างบนท้องฟ้ายามค่ำคืนนั้นที่เรามองเห็นผิวของดวงจันทร์เรียบเนียนนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างที่ตาเรามองเห็น แต่กลับเต็มไปด้วยหลุมขรุขระมากมาย ซึ่งบทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักดวงจันทร์พร้อมทั้งหาข้อเท็จจริงของพื้นผิวของดวงจันทร์กัน พื้นผิวดวงจันทร์ ทำความรู้จักดวงจันทร์กันก่อน พื้นผิวดวงจันทร์ ในทางดาราศาสตร์ นิยามว่าดวงจันทร์เป็นดาวบริวารของดาวเคราะห์ และเป็นดาราศาสตร์วัตถุที่โคจรรอบโลก ซึ่งเป็นดาวบริวารดวงเดียวของโลกก็ว่าได้ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 384,403 กิโลเมตร ในอดีตชาวโรมันเรียกดวงจันทร์ว่า Luna ส่วนชาวกรีกเรียกดวงจันทร์ว่า Selene หรือ Artemis ดวงจันทร์นั้นเป็นที่รู้จักตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นวัตถุที่ส่องแสงสว่างมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากดวงอาทิตย์ อีกทั้งยังเป็นที่หลงใหลของมนุษยชาติมาโดยตลอด พื้นพิวของดวงจันทร์เป็นอย่างไร เนื่องจากบนดวงจันทร์นั้นไม่มีอากาศ ไม่มีน้ำ และไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ พื้นผิวของดวงจันทร์ส่วนใหญ่ปกคลุมเต็มไปด้วยฝุ่นผงละเอียดและเศษหินชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซากหินที่เกิดจากอุกกาบาตพุ่งชนและแตกออกจากแรงกระแทกของอุกกาบาต และยังมีภูเขาสูง หลุมอุกกาบาต และหุบเหวลึกมากมายทั่วบริเวณพื้นผิวของดวงจันทร์ พื้นผิวดวงจันทร์มีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ แบบแรกเป็นพื้นที่สูงขรุขระมีอายุเก่าแก่ ส่วนแบบที่สองมีลักษณะเป็นพื้นที่ต่ำค่อนข้างราบเรียบมีอายุไม่นานนัก แบบที่สองนี้นิยมเรียกกันว่า “ทะเลบนดวงจันทร์” หรือ “Maria” ในสมัยก่อนเป็นเรื่องที่น่าสงสัยกันอยู่ไม่น้อยสำหรับนักดาราศาสตร์ที่ว่าบนดวงจันทร์จะมีทะเลได้อย่างไร แต่ในเวลาต่อมาเมื่อการศึกษาและวิจัยได้กระจ่างชัดก็ทำให้ทราบว่า “ทะเลบนดวงจันทร์” เป็นพื้นที่ที่ถูกลาวาจากภายในตัวดวงจันทร์เอ่อขึ้นมากลบ ก่อนจะเย็นตัวและแข็งตัวเป็นพื้นที่ราบนั่นเอง ที่มาของผิวขรุขระบนดวงจันทร์ ผิวของดวงจันทร์ในอดีตที่ผ่านมาถูกชนด้วย อุกกาบาตเป็นจำนวนมาก ทำให้หินที่เป็นเปลือกมีการผสม […]

ดาวศุกร์

ดาวศุกร์ (อังกฤษ: Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เมื่อมองจากโลกในตอนกลางคืน ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าซึ่งสว่างรองลงมาจากดวงจันทร์ ดาวศุกร์มีวงโคจรอยู่ภายในวงโคจรของโลก ทำให้เมื่อสังเกตแล้วจะไม่ปรากฏว่าห่างจากดวงอาทิตย์มากนัก กล่าวคือ จะเห็นในตอนหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า “ดาวประจำเมือง” หรือเห็นในตอนเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า “ดาวประกายพรึก” หรือ “ดาวรุ่ง”ดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ช้ามากและหมุนรอบตัวเองช้าเช่นกัน โดยโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 224.7 วันของโลก และหมุนรอบตัวเองครบบริบูรณ์โดยใช้เวลา 243 วันของโลก แต่มีความยาววันสุริยคติ 117 วันของโลก ด้วยเหตุนี้ ดาวศุกร์จึงจัดเป็นดาวที่หมุนรอบตัวเองช้าที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากนี้ ดวงอาทิตย์บนดาวศุกร์จะขึ้นทางทิศตรงกันข้ามกับโลก คือ ขึ้นทางทิศตะวันตกและตกทางทิศตะวันออก ดาวศุกร์ไม่มีบริวารธรรมชาติเช่นเดียวกับดาวพุธ ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน และมักกล่าวว่าเป็นดาวน้องสาวของโลก ด้วยเหตุที่มีขนาดใกล้กัน มวลเกือบเท่ากัน อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เหมือนกัน และมีส่วนประกอบเป็นหินเหมือนกัน อย่างไรก็ตามนั้น ดาวศุกร์มีลักษณะต่างจากโลกอย่างสุดขั้วในหลายด้าน อาทิ มีความหนาแน่นบรรยากาศสูงสุดในบรรดาดาวเคราะห์หินทั้งสี่ดวง ความดันบรรยากาศบนดาวศุกร์มีค่าประมาณ 92 เท่าของความดันบรรยากาศโลกที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง ในบรรยากาศนั้นก็ประกอบไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 96% อุณหภูมิเฉลี่ยบนดาวศุกร์มีค่า 737 K (464 °C; 867 […]

โลก

โลก (บาลี: loka; อังกฤษ: world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์รวมทั้งอารยธรรม     มนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์  โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ โลกที่เป็นเอกภพทางกายภาพทั้งหมด และโลกในแบบภววิทยา    ในทางเทววิทยาโลกหมายถึงโลกที่เป็นวัตถุหรือภพภูมิที่เป็นโลกียะ ซึ่งต่างจากสภาพจิตวิญญาณ     อุตรภาพ หรือศักดิ์สิทธิ์ คำว่า “โลกาวินาส”     หมายถึงสภาพการณ์ที่เชื่อว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แนวคิดนี้มักพบในศาสนา ต่าง ๆ ประวัติศาสตร์โลก หมายถึง พัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์หลัก ๆ ในช่วง 5 สหัสวรรษตั้งแต่อารยธรรมแรกมาจนปัจจุบันประชากรโลก หมายถึง จำนวนรวมประชากรมนุษย์ทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ และเช่นเดียวกันคำว่าเศรษฐกิจโลกก็หมายถึงสภาพเศรษฐกิจของสังคมทั้งหมดทุกประเทศ โดยเฉพาะในบริบทของโลกาภิวัตน์คำว่าโลกใน ศาสนาโลก ภาษาโลก และสงครามโลก เน้นถึงขอบข่ายระหว่างประเทศหรือระหว่างทวีป โดยไม่ได้หมายความว่าเกี่ยวกับโลกโดยรวมทั้งหมดส่วนคำว่าโลกในแผนที่โลก ภูมิอากาศโลก มิได้หมายถึงโลกในเชิงวัฒนธรรมหรืออารยธรรมมนุษย์แต่หมายถึงดาวเคราะห์โลก กำเนิด โลก โลก เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว   กลุ่มก๊าซในเอกภพบริเวณนี้   ได้รวมตัวกันเป็นหมอกเพลิงมีชื่อว่า “โซลาร์เนบิวลา”   (Solar   แปลว่า สุริยะ, Nebula แปลว่า หมอกเพลิง) […]

ดาวพุธ

ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยากที่สุด ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแก่นดาวเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้ ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ☿ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน บรรยากาศ ดาวพุธ ดาวพุธ มีชั้นบรรยากาศเบาบางและมีสเถียรภาพต่ำอันเกิดจากการที่ดาวพุธมีขนาดเล็กจนไม่มีแรงดึงดูดเพียงพอในการกักเก็บอะตอมของก๊าซเอาไว้ ชั้นบรรยากาศของดาวพุธประกอบไปด้วยไฮโดรเจน, ฮีเลียม, ออกซิเจน, โซเดียม, แคลเซียม, โพแทสเซียม และ น้ำ มีความดันบรรยากาศประมาณ 10-14 […]

ดวงอาทิตย์

ภาพที่ 1 ดวงอาทิตย์      ดวงอาทิตย์ (The Sun) คือดาวฤกษ์ที่อยู่ตรงศูนย์กลางของระบบสุริยะ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโลเมตร หรือ 109 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางโลก อยู่ห่างจากโลก 149,600,000 กิโลเมตร หรือ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (AU)  ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่าโลก 333,000 เท่า แต่มีความหนาแน่นเพียง 0.25 เท่าของโลก เนื่องจากมีองค์ประกอบเป็นไฮโดรเจน 74% ฮีเลียม 25% และธาตุชนิดอื่น 1% (ข้อมูลเพิ่มเติม NASA Sun Fact Sheet) โครงสร้างภายในของดวงอาทิตย์ แก่นปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Fusion core)​ อยู่ที่ใจกลางของดวงอาทิตย์ถึงระยะ 25% ของรัศมี แรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ทำให้มวลสารของดาวกดทับกันจนอุณหภูมิที่ใจกลางสูงถึง 15 ล้านเคลวิน จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันหลอมอะตอมของไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียม และปลดปล่อยพลังงานออกมา โซนการแผ่รังสี (Radiative zone) อยู่ที่ระยะ […]