Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดวงจันทร์ของโลก

ดวงจันทร์ของโลก ดวงจันทร์ (The Moon) ​เป็นบริวารดวงเดียวของโลกและมีขนาดเล็กกว่าโลกมาก หลังจากการก่อตัวของระบบสุริยะ ดวงจันทร์เย็นตัวอย่างรวดเร็วจนโครงสร้างภายในกลายเป็นของแข็งทั้งหมดจึงไม่มีสนามแม่เหล็ก ดวงจันทร์มีมวลน้อยจึงมีแรงโน้มถ่วงน้อยจนไม่สามารถดึงดูดบรรยากาศไว้ได้ การที่ไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่เลย ทำให้อุกกาบาตพุ่งชนพื้นผิวโดยอิสระไร้แรงเสียดทาน พื้นผิวของดวงจันทร์จึงปกคลุมไปด้วยฝุ่นผงและกรวดอุกกาบาต เมื่อมองดูจากโลกเรามองเห็นพื้นที่สีคล้ำบนดวงจันทร์เป็นรูปกระต่าย คนสมัยก่อนเข้าใจว่า บริเวณนั้นเป็นทะเลบนดวงจันทร์ แต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีกันแล้วว่าบนดวงจันทร์ไม่มีน้ำ

Read More »

รู้หรือไม่ว่าทำไม พื้นผิวดวงจันทร์ ที่เราเห็นนั้นมีผิวขรุขระ

พื้นผิวดวงจันทร์ เชื่อว่าเราต่างก็เคยมองบนท้องฟ้ายามค่ำคืนกันทั้งนั้น แล้วมองเห็นดวงจันทร์ที่สว่างไสวนั้นไหม หลายคนคงอาจจะเคลิบเคลิ้มไปกับความสวยงาม และคงคิดว่าดวงจันทร์นั้นคงกลมสวยงามเรียบเนียนอย่างที่เรามองเห็นเมื่อมองจากโลก แต่รู้หรือไม่ว่าดวงจันทร์ที่ส่องสว่างบนท้องฟ้ายามค่ำคืนนั้นที่เรามองเห็นผิวของดวงจันทร์เรียบเนียนนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างที่ตาเรามองเห็น แต่กลับเต็มไปด้วยหลุมขรุขระมากมาย ซึ่งบทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักดวงจันทร์พร้อมทั้งหาข้อเท็จจริงของพื้นผิวของดวงจันทร์กัน พื้นผิวดวงจันทร์ ทำความรู้จักดวงจันทร์กันก่อน พื้นผิวดวงจันทร์ ในทางดาราศาสตร์ นิยามว่าดวงจันทร์เป็นดาวบริวารของดาวเคราะห์ และเป็นดาราศาสตร์วัตถุที่โคจรรอบโลก

Read More »

ดาวศุกร์

ดาวศุกร์ (อังกฤษ: Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เมื่อมองจากโลกในตอนกลางคืน ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าซึ่งสว่างรองลงมาจากดวงจันทร์ ดาวศุกร์มีวงโคจรอยู่ภายในวงโคจรของโลก ทำให้เมื่อสังเกตแล้วจะไม่ปรากฏว่าห่างจากดวงอาทิตย์มากนัก กล่าวคือ จะเห็นในตอนหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า “ดาวประจำเมือง” หรือเห็นในตอนเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า

Read More »

ดวงจันทร์ของโลก

ดวงจันทร์ของโลก ดวงจันทร์ (The Moon) ​เป็นบริวารดวงเดียวของโลกและมีขนาดเล็กกว่าโลกมาก หลังจากการก่อตัวของระบบสุริยะ ดวงจันทร์เย็นตัวอย่างรวดเร็วจนโครงสร้างภายในกลายเป็นของแข็งทั้งหมดจึงไม่มีสนามแม่เหล็ก ดวงจันทร์มีมวลน้อยจึงมีแรงโน้มถ่วงน้อยจนไม่สามารถดึงดูดบรรยากาศไว้ได้ การที่ไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่เลย ทำให้อุกกาบาตพุ่งชนพื้นผิวโดยอิสระไร้แรงเสียดทาน พื้นผิวของดวงจันทร์จึงปกคลุมไปด้วยฝุ่นผงและกรวดอุกกาบาต เมื่อมองดูจากโลกเรามองเห็นพื้นที่สีคล้ำบนดวงจันทร์เป็นรูปกระต่าย คนสมัยก่อนเข้าใจว่า บริเวณนั้นเป็นทะเลบนดวงจันทร์ แต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีกันแล้วว่าบนดวงจันทร์ไม่มีน้ำ พื้นที่แอ่งสีคล้ำบนดวงจันทร์เกิดขึ้นจากการพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ในยุคแรกของระบบสุริยะ ทำให้พื้นผิวของดวงจันทร์ทะลุจนแมกมาซึ่งอยู่ข้างใต้ไหลขึ้นมาแข็งตัวเป็นหินบะซอลต์ ในยุคหลังๆ อุกกาบาตได้พุ่งชนและหลอมรวมกับดาวเคราะห์และดวงจันทร์ต่างๆ ของระบบสุริยะจนหมดแล้ว เหลือแต่อุกกาบาตขนาดจิ๋วซึ่งยังคงกระหน่ำชนพื้นผิวดวงจันทร์อยู่ตลอดเวลา

ดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลก เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ของแรงไทดัลของโลกและดวงจันทร์ ทำให้ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลาเท่ากับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ด้านตรงข้ามที่หันออกจากโลก (Far side of the Moon) จึงเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่เพราะดวงจันทร์ทำหน้าที่ปกป้องโลกไปในตัว และแม้ว่าดวงจันทร์จะมีขนาดเล็กกว่าโลกมากแต่ดวงจันทร์ก็มีอิทธิพลกับโลกมาก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ข้างขึ้นข้างแรม น้ำขึ้นน้ำลง สุริยุปราคา จันทรุปราคา นักวิทยาศาสตร์พบว่า ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนที่ช้าลงและห่างจากโลกมากขึ้น

ปี พ.ศ.2502 สหภาพโซเวียต (รัสเซีย) ได้ส่ง ลูนา 2 ยานอวกาศลำแรกลงไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ สิบปีต่อมาในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2512 สหรัฐอเมริกาได้ส่ง อะพอลโล 11 ยานอวกาศลำแรกที่พามนุษย์คือ นีล อาร์มสตรอง และ เอ็ดวิน อัลดริน ไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์และนำหินบนดวงจันทร์กลับมาตรวจสอบพบว่ามีอายุถึง 3,000 – 4,600 ล้านปี ซึ่งเก่าแก่กว่าหินบนพื้นโลก นับเป็นหลักฐานที่สำคัญเกี่ยวกับการเกิดของระบบสุริยะในยุคเริ่มแรก ยานอวกาศรุ่นใหม่ที่ส่งไปสำรวจดวงจันทร์ ได้แก่ คลีเมนไทน์ และ ลูนาร์โพรสเปคเตอร์ ให้ข้อมูลที่บ่งบอกว่า อาจมีน้ำแข็งอยู่ที่ก้นหลุมอุกกาบาตที่บริเวณขั้วของดวงจันทร์ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่แสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึง อย่างไรก็ตาม จากการบังคับยานลูนาร์โพรสเปคเตอร์ให้พุ่งชนดวงจันทร์ไม่ตรวจพบว่ามีเศษน้ำแข็งกระเด็นออกมา

คำอธิบายภาพ ดวงจันทร์ของโลก

  1. ดวงจันทร์ของโลก พื้นที่สีคล้ำเกิดจากการแมกมาไหลออกมาปกคลุมก้นหลุมอุกกาบาต รอยแตกกระจายเบื้องล่างเกิดจากอุกกาบาตพุ่งชนทำให้เกิดหลุมไทโค ภายหลังที่โครงสร้างภายในของดวงจันทร์แข็งตัวหมดแล้ว
  2. นักบินอวกาศ ชาลส์ คอนราด จากยานอะพอลโล 12 ถ่ายรูปกับยานเซอเวเยอร์ 3 ซึ่งถูส่งลงมาสำรวจล่วงหน้าก่อนสองปี
  3. รอยเท้าของ นีล อาร์มสตรอง มนุษย์คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์
  4. เทคนิคภาพสี False color ทำให้มองเห็นสภาพตะกอนพื้นผิวที่แตกต่างกัน
  5. ภาพวาดแสดงให้เห็นการสำรวจถ้ำลาวาบนดวงจันทร์
  6. นักบินอวกาศยานอะพอลโล 8 มองเห็นโลกขึ้นจากดวงจันทร์
  7. บริเวณหลุมโคเปอร์นิคัส เป็นพื้นที่ๆ มีอายุน้อยที่สุดบนดวงจันทร์

ข้อมูลสำคัญ​

  • ระยะทางเฉลี่ยจากโลก 384,400 กิโลเมตร
  • คาบวงโคจรรอบโลก 27.32 วัน
  • ความรีของวงโคจร 0.054
  • ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 5.145°
  • แกนเอียง 6.68°
  • หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 27.32 ชั่วโมง
  • รัศมี 1,737 กิโลเมตร
  • มวล 0.0123 ของโลก
  • ความหนาแน่น 3.341 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
  • แรงโน้มถ่วง 0.166 เท่าของโลก
  • ไม่มีบรรยากาศ และยังไม่ตรวจพบน้ำ
  • อุณหภูมิ -233°C 123°C ดวงจันทร์ของโลก

บทความที่เกี่ยวข้อง