Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดวงจันทร์ของโลก

ดวงจันทร์ของโลก ดวงจันทร์ (The Moon) ​เป็นบริวารดวงเดียวของโลกและมีขนาดเล็กกว่าโลกมาก หลังจากการก่อตัวของระบบสุริยะ ดวงจันทร์เย็นตัวอย่างรวดเร็วจนโครงสร้างภายในกลายเป็นของแข็งทั้งหมดจึงไม่มีสนามแม่เหล็ก ดวงจันทร์มีมวลน้อยจึงมีแรงโน้มถ่วงน้อยจนไม่สามารถดึงดูดบรรยากาศไว้ได้ การที่ไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่เลย ทำให้อุกกาบาตพุ่งชนพื้นผิวโดยอิสระไร้แรงเสียดทาน พื้นผิวของดวงจันทร์จึงปกคลุมไปด้วยฝุ่นผงและกรวดอุกกาบาต เมื่อมองดูจากโลกเรามองเห็นพื้นที่สีคล้ำบนดวงจันทร์เป็นรูปกระต่าย คนสมัยก่อนเข้าใจว่า บริเวณนั้นเป็นทะเลบนดวงจันทร์ แต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีกันแล้วว่าบนดวงจันทร์ไม่มีน้ำ

Read More »

รู้หรือไม่ว่าทำไม พื้นผิวดวงจันทร์ ที่เราเห็นนั้นมีผิวขรุขระ

พื้นผิวดวงจันทร์ เชื่อว่าเราต่างก็เคยมองบนท้องฟ้ายามค่ำคืนกันทั้งนั้น แล้วมองเห็นดวงจันทร์ที่สว่างไสวนั้นไหม หลายคนคงอาจจะเคลิบเคลิ้มไปกับความสวยงาม และคงคิดว่าดวงจันทร์นั้นคงกลมสวยงามเรียบเนียนอย่างที่เรามองเห็นเมื่อมองจากโลก แต่รู้หรือไม่ว่าดวงจันทร์ที่ส่องสว่างบนท้องฟ้ายามค่ำคืนนั้นที่เรามองเห็นผิวของดวงจันทร์เรียบเนียนนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างที่ตาเรามองเห็น แต่กลับเต็มไปด้วยหลุมขรุขระมากมาย ซึ่งบทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักดวงจันทร์พร้อมทั้งหาข้อเท็จจริงของพื้นผิวของดวงจันทร์กัน พื้นผิวดวงจันทร์ ทำความรู้จักดวงจันทร์กันก่อน พื้นผิวดวงจันทร์ ในทางดาราศาสตร์ นิยามว่าดวงจันทร์เป็นดาวบริวารของดาวเคราะห์ และเป็นดาราศาสตร์วัตถุที่โคจรรอบโลก

Read More »

ดาวศุกร์

ดาวศุกร์ (อังกฤษ: Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เมื่อมองจากโลกในตอนกลางคืน ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าซึ่งสว่างรองลงมาจากดวงจันทร์ ดาวศุกร์มีวงโคจรอยู่ภายในวงโคจรของโลก ทำให้เมื่อสังเกตแล้วจะไม่ปรากฏว่าห่างจากดวงอาทิตย์มากนัก กล่าวคือ จะเห็นในตอนหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า “ดาวประจำเมือง” หรือเห็นในตอนเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า

Read More »

โลก

โลก (บาลี: loka; อังกฤษ: world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์รวมทั้งอารยธรรม     มนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์  โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ โลกที่เป็นเอกภพทางกายภาพทั้งหมด และโลกในแบบภววิทยา    ในทางเทววิทยาโลกหมายถึงโลกที่เป็นวัตถุหรือภพภูมิที่เป็นโลกียะ ซึ่งต่างจากสภาพจิตวิญญาณ     อุตรภาพ หรือศักดิ์สิทธิ์ คำว่า “โลกาวินาส”     หมายถึงสภาพการณ์ที่เชื่อว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แนวคิดนี้มักพบในศาสนา ต่าง ๆ

ประวัติศาสตร์โลก หมายถึง พัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์หลัก ๆ ในช่วง 5 สหัสวรรษตั้งแต่อารยธรรมแรกมาจนปัจจุบันประชากรโลก หมายถึง จำนวนรวมประชากรมนุษย์ทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ และเช่นเดียวกันคำว่าเศรษฐกิจโลกก็หมายถึงสภาพเศรษฐกิจของสังคมทั้งหมดทุกประเทศ โดยเฉพาะในบริบทของโลกาภิวัตน์คำว่าโลกใน ศาสนาโลก ภาษาโลก และสงครามโลก เน้นถึงขอบข่ายระหว่างประเทศหรือระหว่างทวีป โดยไม่ได้หมายความว่าเกี่ยวกับโลกโดยรวมทั้งหมดส่วนคำว่าโลกในแผนที่โลก ภูมิอากาศโลก มิได้หมายถึงโลกในเชิงวัฒนธรรมหรืออารยธรรมมนุษย์แต่หมายถึงดาวเคราะห์โลก

กำเนิด โลก

soala

โลก เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว   กลุ่มก๊าซในเอกภพบริเวณนี้   ได้รวมตัวกันเป็นหมอกเพลิงมีชื่อว่า “โซลาร์เนบิวลา”   (Solar   แปลว่า สุริยะ, Nebula แปลว่า หมอกเพลิง)   แรงโน้มถ่วงทำให้กลุ่มก๊าซยุบตัวและหมุนตัวเป็นรูปจาน   ใจกลางมีความร้อนสูงเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชั่น   กลายเป็นดาวฤกษ์ที่ชื่อว่าดวงอาทิตย์   ส่วนวัสดุที่อยู่รอบๆ   มีอุณหภูมิต่ำกว่า รวมตัวเป็นกลุ่มๆ   มีมวลสารและความหนาแน่นมากขึ้นเป็นชั้นๆ   และกลายเป็นดาวเคราะห์ในที่สุด

       โลกในยุคแรกเป็นของเหลวหนืดร้อน ถูกกระหน่ำชนด้วยอุกกาบาตตลอดเวลา องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น เหล็ก และนิเกิล จมตัวลงสู่แก่นกลางของโลก ขณะที่องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุเบา เช่น ซิลิกอน ลอยตัวขึ้นสู่เปลือกนอก ก๊าซต่างๆ เช่น ไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ พยายามแทรกตัวออกจากพื้นผิว ก๊าซไฮโดรเจนถูกลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ทำลายให้แตกเป็นประจุ ส่วนหนึ่งหลุดหนีออกสู่อวกาศ อีกส่วนหนึ่งรวมตัวกับออกซิเจนกลายเป็นไอน้ำ เมื่อโลกเย็นลง เปลือกนอกตกผลึกเป็นของแข็ง ไอน้ำในอากาศควบแน่นเกิดฝน น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์ลงมาสะสมบนพื้นผิว เกิดทะเลและมหาสมุทร สองพันล้านปีต่อมาการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ได้นำคาร์บอนไดออกไซด์มาผ่านการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างพลังงาน และให้ผลผลิตเป็นก๊าซออกซิเจน ก๊าซออกซิเจนที่ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบน แตกตัวและรวมตัวเป็นก๊าซโอโซน ซึ่งช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตราไวโอเล็ต ทำให้สิ่งมีชีวิตมากขึ้น และปริมาณของออกซิเจนมากขึ้นอีก ออกซิเจนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลกในเวลาต่อมา

ea

 

โครงสร้างภายในของโลก

โลกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 12,756 กิโลเมตร (รัศมี 6,378 กิโลเมตร) มีมวลสาร 6 x 1024 กิโลกรัม และมีความหนาแน่นเฉลี่ย 5.5 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (หนาแน่นกว่าน้ำ 5.5 เท่า) นักธรณีวิทยาทำการศึกษาโครงสร้างภายในของโลก โดยศึกษาการเดินทางของ “คลื่นซิสมิค” (Seismic waves) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ดาวพุธ

 ps

คลื่นปฐมภูมิ (P wave) เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง โดยอนุภาคของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ เป็นคลื่นที่สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น โดยมีความเร็วประมาณ 6 – 8 กิโลเมตร/วินาที คลื่นปฐมภูมิทำให้เกิดการอัดหรือขยายตัวของชั้นหิน ดังภาพที่ 3

คลื่นทุติยภูมิ (S wave) เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลางโดยอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ  3 – 4 กิโลเมตร/วินาที คลื่นทุติยภูมิทำให้ชั้นหินเกิดการคดโค้ง

rt

ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว (Earthquake) จะเกิดแรงสั่นสะเทือนหรือคลื่นซิสมิคขยายแผ่จากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวออกไปโดยรอบทุกทิศทุกทาง เนื่องจากวัสดุภายในของโลกมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน และมีสถานะต่างกัน คลื่นทั้งสองจึงมีความเร็วและทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปดังภาพที่ 4 คลื่นปฐมภูมิหรือ P wave สามารถเดินทางผ่านศูนย์กลางของโลกไปยังซีกโลกตรงข้ามโดยมีเขตอับ (Shadow zone) อยู่ระหว่างมุม 100 – 140 องศา แต่คลื่นทุติยภูมิ หรือ S wave ไม่สามารถเดินทางผ่านชั้นของเหลวได้ จึงปรากฏแต่บนซีกโลกเดียวกับจุดเกิดแผ่นดินไหว โดยมีเขตอับอยู่ที่มุม 120 องศาเป็นต้นไป

โครงสร้างภายในของโลกแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี

นักธรณีวิทยา แบ่งโครงสร้างภายในของโลกออกเป็น 3 ส่วน โดยพิจารณาจากองค์ประกอบทางเคมี ดังนี้ (ภาพที่ 5)
เปลือกโลก (Crust) เป็นผิวโลกชั้นนอก มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นซิลิกอนออกไซด์ และอะลูมิเนียมออกไซด์

แมนเทิล (Mantle) คือส่วนซึ่งอยู่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึก 2,900 กิโลเมตร มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิคอนออกไซด์ แมกนีเซียมออกไซด์ และเหล็กออกไซด์

แก่นโลก (Core) คือส่วนที่อยู่ใจกลางของโลก มีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก และนิเกิล

com in

โครงสร้างภายในของโลกแบ่งตามคุณสมบัติทางกายภาพ

           นักธรณีวิทยา แบ่งโครงสร้างภายในของโลกออกเป็น 5 ส่วน โดยพิจารณาจากคุณสมบัติทางกายภาพ ดังนี้ (ภาพที่ 6)
ลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) คือ ส่วนชั้นนอกสุดของโลก ประกอบด้วย เปลือกโลกและแมนเทิลชั้นบนสุด ดังนี้
o เปลือกทวีป (Continental crust) ส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิตมีความหนาเฉลี่ย 35 กิโลเมตร ความหนาแน่น 2.7 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
o เปลือกสมุทร (Oceanic crust) เป็นหินบะซอลต์ความหนาเฉลี่ย 5 กิโลเมตร ความหนาแน่น 3 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร (มากกว่าเปลือกทวีป)
o แมนเทิลชั้นบนสุด (Uppermost mantle) เป็นวัตถุแข็งซึ่งรองรับเปลือกทวีปและเปลือกสมุทรอยู่ลึกลงมาถึงระดับลึก 100 กิโลเมตร
แอสทีโนสเฟียร์ (Asthenosphere) เป็นแมนเทิลชั้นบนซึ่งอยู่ใต้ลิโทสเฟียร์ลงมาจนถึงระดับ 700 กิโลเมตร เป็นวัสดุเนื้ออ่อนอุณหภูมิประมาณ 600 – 1,000ฐC เคลื่อนที่ด้วยกลไกการพาความร้อน (Convection) มีความหนาแน่นประมาณ 3.3 กรัม/เซนติเมตร
เมโซสเฟียร์ (Mesosphere) เป็นแมนเทิลชั้นล่างซึ่งอยู่ลึกลงไปจนถึงระดับ 2,900 กิโลเมตร มีสถานะเป็นของแข็งอุณหภูมิประมาณ 1,000 – 3,500ฐC มีความหนาแน่นประมาณ 5.5 กรัม/เซนติเมตร ดวงอาทิตย์
แก่นชั้นนอก (Outer core) อยู่ลึกลงไปถึงระดับ 5,150 กิโลเมตร เป็นเหล็กหลอมละลายมีอุณหภูมิสูง 1,000 – 3,500ฐC เคลื่อนตัวด้วยกลไกการพาความร้อนทำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก มีความหนาแน่น 10 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
แก่นชั้นใน (Inner core) เป็นเหล็กและนิเกิลในสถานะของแข็งซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 ?C ความหนาแน่น 12 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ที่ระดับลึก 6,370 กิโลเมตร

สนามแม่เหล็กโลก

แก่นโลกมีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก แก่นโลกชั้นใน (Inner core) มีความกดดันสูงจึงมีสถานะเป็นของแข็ง ส่วนแก่นชั้นนอก (Outer core) มีความกดดันน้อยกว่าจึงมีสถานะเป็นของเหลวหนืด แก่นชั้นในมีอุณหภูมิสูงกว่าแก่นชั้นนอก พลังงานความร้อนจากแก่นชั้นใน จึงถ่ายเทขึ้นสู่แก่นชั้นนอกด้วยการพาความร้อน (Convection) เหล็กหลอมละลายเคลื่อนที่หมุนวนอย่างช้าๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า และเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก (The Earth’s magnetic field)

g

 

อย่างไรก็ตามแกนแม่เหล็กโลกและแกนหมุนของโลกมิใช่แกนเดียวกัน แกนแม่เหล็กโลกมีขั้วเหนืออยู่ทางด้านใต้ และมีแกนใต้อยู่ทางด้านเหนือ แกนแม่เหล็กโลกเอียงทำมุมกับแกนเหนือ-ใต้ทางภูมิศาสตร์ (แกนหมุนของโลก) 12 องศา

nm

     สนามแม่เหล็กโลกก็มิใช่เป็นรูปทรงกลม อิทธิพลของลมสุริยะทำให้ด้านที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มีความกว้างน้อยกว่าด้านตรงข้ามดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กโลกไม่ใช่สิ่งคงที่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงความเข้มและสลับขั้วเหนือ-ใต้ ทุกๆ หนึ่งหมื่นปี ในปัจจุบันสนามแม่เหล็กโลกอยู่ในช่วงที่มีกำลังอ่อน สนามแม่เหล็กโลกเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เอื้ออำนวยในการดำรงชีวิต หากปราศจากสนามแม่เหล็กโลกแล้ว อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์และอวกาศ จะพุ่งชนพื้นผิวโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในบทที่ 3 พลังงานจากดวงอาทิตย์)

   เกร็ดความรู้: ทิศเหนือที่อ่านได้จากเข็มทิศแม่เหล็ก อาจจะไม่ตรงกับทิศเหนือจริง ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ

  • ขั้วแม่เหล็กโลก และขั้วโลก มิใช่จุดเดียวกัน
  • ในบางพื้นที่ของโลก เส้นแรงแม่เหล็กมีความเบี่ยงเบน (Magnetic deviation) มิได้ขนานกับเส้นลองจิจูด (เส้นแวง) ทางภูมิศาสตร์ แต่โชคดีที่บริเวณประเทศไทยมีค่าความเบี่ยงเบน = 0 ดังนั้นจึงถือว่า ทิศเหนือแม่เหล็กเป็นทิศเหนือจริงได

   ภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อมโลก

ลักษณะภูมิประเทศของโลก

ma

   บนพื้นผิวโลกประกอบไปด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ   โดยมีพื้นน้ำเป็นอาณาเขตส่วนใหญ่ของพื้นผิวโลก ได้แก่    มหาสมุทร ทะเลสาบ คลอง บึง แม่น้ำ ลำธารต่างๆ    เฉพาะมหาสมุทรของโลกกินพื้นที่ประมาณสามในสี่ของพื้นผิวโลก    มหาสมุทรของโลกมี 4 มหาสมุทร ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก    มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรอาร์กติก    (ขั้วโลกเหนือ) ส่วนที่เป็นแผ่นดินแบ่งออกเป็น 7 ทวีป คือ เอเชีย    แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป ออสเตรเลีย    และแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้)    ส่วนที่เป็นแผ่นดินนี้จะมีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกันไป เช่น    ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบในหุบเขา ที่ราบลุ่มน้ำ    ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เป็นต้น โลก